คลังเก็บผู้เขียน: Wichai Kamin

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้างที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

หลายเรื่องที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา และใช้กันอยู่ทุกวันนั้นมีอะไรบ้าง หากเกิดปัญหาขึ้นมา ถึงจะเรียกช่างก็ยังไม่สามารถอธิบายข้อมูลคร่าว ๆ ให้เข้าใจได้ วันนี้เราจะมาแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์เหล่านั้น เพื่อเป็นประโยชน์ ใช้งานอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะคุณผู้หญิง หากมีความรู้เรื่องนี้ไว้ ก็สามารถจัดการเบื้องต้นกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้

วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายในบ้าน

แผงวงจรประเภทนี้จะใช้ไฟฟ้าเป็นตัวนำขับเคลื่อนพลังงาน ให้เราได้ใช้อำนวยความสะดวกในแต่ละวัน มาดูกันว่ามีอะไรบ้างและใช้งานอย่างไร

  1. เบรกเกอร์ (เซอร์กิตเบรกเกอร์)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สับหรือปลดวงจรไฟฟ้าหรือที่เรียกกันว่าสวิทซ์อัตโนมัติ จะทำงานก็ต่อเมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้าเกินกำลังจากพิกัดที่ตั้งไว้ในเครื่อง IC หลายครั้งที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เบรกเกอร์ก็จะช่วยตัดได้โดยอัตโนมัติ

  1. เมนสวิทซ์ (Main Switch)

เป็นอุปกรณ์หลักสำหรับวงจรไฟฟ้าที่ต่อเข้ากับอาคาร บ้าน โรงเรือน เป็นตัวประธานที่คอยควบคุมทุกสายภายในทั้งหมด ประกอบไปด้วยเครื่องปลดวงจร (Disconnecting Means) และเครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินกำลัง (Overcourrent Protective Device) คอยทำหน้าที่การใช้ไฟฟ้าให้มีความปลอดภัย หากเกิดไฟฟ้าลัดวงจร สามารถสับ หรือปลดออกได้ทันเหตุการณ์ เพื่อไม่ให้กระแสไฟไหลเข้าสู่ภายในตัวอาคารบ้านพัก

  1. เครื่องตัดไฟรั่ว

เป็นสวิทซ์อัตโนมัติที่ช่วยปลดวงจรได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาที่สั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอย่างไฟฟ้ารั่วลงดินมากเกินค่าที่กำหนดไว้ ปกป้องอันตรายจากไฟฟ้าดูดที่จะสร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินและผู้อาศัยอยู่ในบ้านได้

  1. ฟิวส์

เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่สำคัญพอสมควร ที่ใช้ต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า จัดว่าเป็นอุปกรณ์นิรภัยที่ช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร มีหลายชนิดให้เลือกใช้ มีทั้ง 10 15 และ 30 แอมแปร์ เป็นค่ากำหนดให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน หากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินค่าที่ตั้งไว้ ฟิวส์จะหลอมละลายและทำให้วงจรขาด

  1. สายดิน

เป็นตัวนำที่ต่อจากอุปกรณ์ไฟฟ้า หากเกิดการรั่วไหล หรือไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเส้นทางสายดินเพื่อย้อนกลับไปยังระบบตัดไฟ เพื่อให้ระบบตัดไฟโดยอัตโนมัติ หรือไหลลงสู่ดิน ช่วยปกป้องอุบัติเหตุจากการโดนไฟฟ้าช็อตได้เช่นทางเว็บที่ได้ ข้อมูลต้นไม้ เราได้ติดตั้งสายดินทุกการทำงานที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ไว้ฟ้า

  1. เต้ารับ เต้าเสียบ

เต้ารับจะเป็นปลั๊กตัวเมีย ส่วนเต้าเสียบ จะเป็นปลั๊กตัวผู้ เมื่อเสียบเข้ากันจะสามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้

  1. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1

เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องมีสายดิน มีความหนาของฉนวนไฟฟ้า เพื่อรองรับการทำงานได้อย่างปกติ ส่วนใหญ่จะมีเปลือกหุ้มภายนอกของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำมาจากโลหะ เพื่อความปลอดภัยมากขึ้น ตัวอย่างอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 คือ กระทะไฟฟ้า ไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เตารีด กระติกน้ำร้อน เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องปิ้งขนมปัง หม้อหุงข้าว ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

  1. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 2

เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉนวนไฟฟ้าหนาเป็นสองเท่าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าปกติ อาจจะมีชั้นเดียวหรือสองชั้นก็ได้ อุปกรณ์ชนิดนี้จะมีสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายกำกับไว้ หากจะทำการทดสอบว่ามีไฟรั่วหรือไม่ ให้ใช้ไขควบทดสอบไฟก่อน หากยังเกิดไฟรั่วอยู่แสดงว่าอุปกรณ์ชนิดนี้ไม่ได้รับมาตรฐาน และจำเป็นต้องมีสายดิน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ พัดลม เป็นต้น

  1. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 3

เป็นประเภทที่ใช้กำลังไฟฟ้าแรงดันต่ำ ไม่เกิน 50 โวลต์ ต่อกับหม้อแปลงชนิดพิเศษ แต่มีความปลอดภัยสูง อุปกรณ์ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์ เครื่องโกนหนวด ไดร์เป่าผม เป็นต้น

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า ย่อมเกิดอันตรายต่อตัวผู้ใช้ได้ หากไม่ระมัดระวัง หรือซื้อสินค้าที่ไม่ได้รับมาตรฐานจากบริษัทโดยตรง ข้อควรระวังในการใช้ไฟฟ้า ควรจะตรวจเช็คทุกครั้งหลังไม่ใช้งานแล้ว การถอดปลั๊ก ปิดสวิทซ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และไม่วางสิ่งของที่เป็นของเหลวต่าง ๆ หรือวัตถุไวไฟใกล้อุปกรณ์เหล่านี้ จะเป็นวิธีปกป้องจากอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดได้ เพราะแรงกำลังของไฟฟ้านั้นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต

 

 

อาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ไฟฟ้าแม้อันตรายต่อชีวิต แต่เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน และกลายเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิตไปเสียแล้ว เพราะคนเราใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าได้หลายอย่าง ทั้งช่วยให้เกิดแสงสว่าง ให้ความร้อนในการประกอบอาหาร สร้างความเย็นให้รู้สึกสบายตัวขึ้น หรืออุปกรณ์ที่ใช้อยู่ทุกวัน อย่างเครื่องซักผ้า เสพความบันเทิงจากการดูโทรทัศน์ ใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน รอบรู้เรื่องออนไลน์ หรือจะซื้อของแฟชั่นออนไลน์ไปกับอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

เมื่อไฟฟ้านั้นสำคัญต่อการดำรงชีวิต แต่ไฟฟ้าก็เกิดปัญหาหลาย ๆ อย่างตามมาจากสภาพการใช้งาน หรืออุบัติเหตุที่เกิดมาจากความไม่ระมัดระวัง อาชีพที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า หรืออาชีพที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จึงมีหลากหลาย เพื่อให้ความรู้ ซ่อมแซม แก้ปัญหาให้สำหรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน เรามาดูกันว่ามีอาชีพอะไรบ้าง

  1. ช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า

มีหน้าที่ซ่อมแซม ปรับเปลี่ยน ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า เป็นต้น โดยจะต้องมีความรู้เรื่องแผงวงจรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดี เมื่อทราบข้อมูลของปัญหาจะตีโจทย์แตกได้ว่า สาเหตุนั้นเกิดจากอะไร รวมถึงพูดคุยให้คำแนะนำถึงความผิดปกติของเครื่องใช้ไฟฟ้า บอกวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง เพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์นั้นได้เป็นอย่างดี

  1. ช่างประกอบ ซ่อม ติดตั้งระบบเสียง และงานปรับแต่งระบบเสียง

จะต้องคุ้นเคยกับอุปกรณ์และรู้จักเครื่องเสียงเบื้องต้น ทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสียง การปรับแต่ง ประกอบเครื่อง ฟังก์ชั่นการทำงานของแผงควบคุมและการสั่งงาน แนะนำเลือกอุปกรณ์เกี่ยวกับเครื่องเสียง ลำโพง รวมไปถึงเรื่องการบำรุงรักษาอุปกรณ์ อย่างเช่นเครื่องเสียงเดียวกัน แต่การใช้งานและอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นมาจากโรงงาน ย่อมมีความแตกต่างกัน ช่างที่มีความรู้ย่อมบอกรายละเอียดของการใช้งาน และซ่อมแซมเพียงแค่เปลี่ยนชิ้นส่วนเล็ก ๆ ให้ได้ โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อเครื่องใหม่ทั้งชุด

  1. งานเดินระบบและแก้ปัญหาเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันมีผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการทำประโยชน์หลายอย่าง เช่นการทำงาน การหาความรู้ และสื่อการเรียนออนไลน์จากอินเตอร์เน็ต จึงจำเป็นจะต้องมีช่างเทคนิคที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และเครื่องข่ายที่เชื่อมโยงอย่างอินเตอร์เน็ต เพื่อติดตั้ง เดินระบบสาย แก้ไขปัญหาจากสายสัญญาณ รวมไปถึงการออกแบบ การคำนวณค่าใช้จ่ายจากระยะทางในการเชื่อมต่อเครือข่าย ทั้งติดตั้งใหม่ทั้งหมด หรือเพิ่มเติมอุปกรณ์ให้มีความเสถียรมากขึ้น

  1. งานออกแบบด้านผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์

เป็นงานที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ มีการทดสอบคุณวุฒิในวิชาชีพด้านการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า และรู้ถึงความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ประเมินราคาจากวัสดุ การผลิต ทั้งยังสามารถพัฒนาอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพการใช้งานให้ดีขึ้น เหมาะกับการใช้งาน มีความคงทน มีความคิดสร้างสรรค์

  1. จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ไม่ใช่แค่ขายของเป็นอย่างเดียว จะต้องรู้ถึงไหลเวียนของกระไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด รู้จักอุปกรณ์ การใช้งาน คอยให้คำแนะนำแก่ผู้ซื้อเพื่อนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสมหรือเงินทุน รับปรึกษา ชี้แนะการใช้งานอย่างปลอดภัย

  1. งานลงโปรแกรม ประกอบและซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค

เข้าใจลักษณะของงานซ่อม และอัพเกรดคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ค ช่างคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องรู้จักอุปกรณ์เบื้องต้นที่จำเป็น และการลงโปรแกรมเข้ากับสเปคของเครื่อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเครื่องอืด การใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพ ประกอบคอมพิวเตอร์จัดสเปคตามงบของลูกค้าได้ รวมถึงการแก้ไขปัญหาการใช้งานทั่วไปของโปรแกรม เรียนรู้เทคโนโลยีและโปรแกรมใหม่ ๆ เพื่อนำเสนอให้แก่ลูกค้า

  1. ช่างติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียว ซ่อมบำรุงและลงโปรแกรม

ต้องรู้หลักการในการออกแบบ การคำนวณสัญญาณตามจุดตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อหาจุดคลื่นสัญญาณที่ชัดที่สุด และไร้ปัญหาการรบกวนคลื่นสัญญาณ วางระบบ ติดตั้ง ย้าย และเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานในการรับ-ส่งสัญญาณ อีกทั้งมีความรู้ในการบำรุงรักษา การตรวจซ่อมอุปกรณ์

งานที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ยกตัวอย่างให้เห็นกันนี้ เป็นงานที่ต้องอาศัยการเรียนรู้และมีความชำนาญอย่างละเอียด โดยเฉพาะงานออกแบบโปรแกรม ที่ต้องอาศัยเทคนิคเฉพาะวิชาชีพ หรือบรรดาช่างที่ต้องซ่อมแซม หากทำให้ชิ้นส่วนเสียหาย อุปกรณ์ชิ้นนั้นอาจจะพังทั้งชุด ดังนั้นค่าตอบแทนในการทำงานจึงค่อนข้างสูงสำหรับผู้ที่ทำงานในลักษณะนี้