อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้างที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

หลายเรื่องที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา และใช้กันอยู่ทุกวันนั้นมีอะไรบ้าง หากเกิดปัญหาขึ้นมา ถึงจะเรียกช่างก็ยังไม่สามารถอธิบายข้อมูลคร่าว ๆ ให้เข้าใจได้ วันนี้เราจะมาแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์เหล่านั้น เพื่อเป็นประโยชน์ ใช้งานอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะคุณผู้หญิง หากมีความรู้เรื่องนี้ไว้ ก็สามารถจัดการเบื้องต้นกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้

วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายในบ้าน

แผงวงจรประเภทนี้จะใช้ไฟฟ้าเป็นตัวนำขับเคลื่อนพลังงาน ให้เราได้ใช้อำนวยความสะดวกในแต่ละวัน มาดูกันว่ามีอะไรบ้างและใช้งานอย่างไร

  1. เบรกเกอร์ (เซอร์กิตเบรกเกอร์)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สับหรือปลดวงจรไฟฟ้าหรือที่เรียกกันว่าสวิทซ์อัตโนมัติ จะทำงานก็ต่อเมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้าเกินกำลังจากพิกัดที่ตั้งไว้ในเครื่อง IC หลายครั้งที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เบรกเกอร์ก็จะช่วยตัดได้โดยอัตโนมัติ

  1. เมนสวิทซ์ (Main Switch)

เป็นอุปกรณ์หลักสำหรับวงจรไฟฟ้าที่ต่อเข้ากับอาคาร บ้าน โรงเรือน เป็นตัวประธานที่คอยควบคุมทุกสายภายในทั้งหมด ประกอบไปด้วยเครื่องปลดวงจร (Disconnecting Means) และเครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินกำลัง (Overcourrent Protective Device) คอยทำหน้าที่การใช้ไฟฟ้าให้มีความปลอดภัย หากเกิดไฟฟ้าลัดวงจร สามารถสับ หรือปลดออกได้ทันเหตุการณ์ เพื่อไม่ให้กระแสไฟไหลเข้าสู่ภายในตัวอาคารบ้านพัก

  1. เครื่องตัดไฟรั่ว

เป็นสวิทซ์อัตโนมัติที่ช่วยปลดวงจรได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาที่สั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอย่างไฟฟ้ารั่วลงดินมากเกินค่าที่กำหนดไว้ ปกป้องอันตรายจากไฟฟ้าดูดที่จะสร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินและผู้อาศัยอยู่ในบ้านได้

  1. ฟิวส์

เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่สำคัญพอสมควร ที่ใช้ต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า จัดว่าเป็นอุปกรณ์นิรภัยที่ช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร มีหลายชนิดให้เลือกใช้ มีทั้ง 10 15 และ 30 แอมแปร์ เป็นค่ากำหนดให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน หากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินค่าที่ตั้งไว้ ฟิวส์จะหลอมละลายและทำให้วงจรขาด

  1. สายดิน

เป็นตัวนำที่ต่อจากอุปกรณ์ไฟฟ้า หากเกิดการรั่วไหล หรือไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเส้นทางสายดินเพื่อย้อนกลับไปยังระบบตัดไฟ เพื่อให้ระบบตัดไฟโดยอัตโนมัติ หรือไหลลงสู่ดิน ช่วยปกป้องอุบัติเหตุจากการโดนไฟฟ้าช็อตได้เช่นทางเว็บที่ได้ ข้อมูลต้นไม้ เราได้ติดตั้งสายดินทุกการทำงานที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ไว้ฟ้า

  1. เต้ารับ เต้าเสียบ

เต้ารับจะเป็นปลั๊กตัวเมีย ส่วนเต้าเสียบ จะเป็นปลั๊กตัวผู้ เมื่อเสียบเข้ากันจะสามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้

  1. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1

เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องมีสายดิน มีความหนาของฉนวนไฟฟ้า เพื่อรองรับการทำงานได้อย่างปกติ ส่วนใหญ่จะมีเปลือกหุ้มภายนอกของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำมาจากโลหะ เพื่อความปลอดภัยมากขึ้น ตัวอย่างอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 คือ กระทะไฟฟ้า ไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เตารีด กระติกน้ำร้อน เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องปิ้งขนมปัง หม้อหุงข้าว ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

  1. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 2

เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉนวนไฟฟ้าหนาเป็นสองเท่าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าปกติ อาจจะมีชั้นเดียวหรือสองชั้นก็ได้ อุปกรณ์ชนิดนี้จะมีสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายกำกับไว้ หากจะทำการทดสอบว่ามีไฟรั่วหรือไม่ ให้ใช้ไขควบทดสอบไฟก่อน หากยังเกิดไฟรั่วอยู่แสดงว่าอุปกรณ์ชนิดนี้ไม่ได้รับมาตรฐาน และจำเป็นต้องมีสายดิน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ พัดลม เป็นต้น

  1. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 3

เป็นประเภทที่ใช้กำลังไฟฟ้าแรงดันต่ำ ไม่เกิน 50 โวลต์ ต่อกับหม้อแปลงชนิดพิเศษ แต่มีความปลอดภัยสูง อุปกรณ์ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์ เครื่องโกนหนวด ไดร์เป่าผม เป็นต้น

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า ย่อมเกิดอันตรายต่อตัวผู้ใช้ได้ หากไม่ระมัดระวัง หรือซื้อสินค้าที่ไม่ได้รับมาตรฐานจากบริษัทโดยตรง ข้อควรระวังในการใช้ไฟฟ้า ควรจะตรวจเช็คทุกครั้งหลังไม่ใช้งานแล้ว การถอดปลั๊ก ปิดสวิทซ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และไม่วางสิ่งของที่เป็นของเหลวต่าง ๆ หรือวัตถุไวไฟใกล้อุปกรณ์เหล่านี้ จะเป็นวิธีปกป้องจากอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดได้ เพราะแรงกำลังของไฟฟ้านั้นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต